วันที่ 1 ธ.ค. 2564, 13:44 น. 1597

พิธีเปิดศูนย์ NEXT Creator Space @ True Digital Park

พิธีเปิดศูนย์ NEXT Creator Space @ True Digital Park

ในวันที่ 10 กันยายน 2563  

พื้นที่ของนักสร้างสรรค์ ที่หลายองค์กรร่วมกันสรรค์สร้าง

นำทีมโดย สจล. และธนาคารกรุงไทย ร่วมกับพันธมิตรกว่า 10 แห่ง อาทิ True Digital Park | PTTDigitalSolutions | B2S Thailand | Central Tech - CTO | Amazon Web Services | Globaltronic intertrade | Autodesk ASEAN

 

“พื้นที่นักสร้างสรรค์ – Creator Space (NEXT) ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 อาคารเพกาซัส ทรู ดิจิทัล พาร์ค ถนนสุขุมวิท ศูนย์กลางด้านดิจิทัลของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดพื้นที่นักสร้างสรรค์ – Creator Space (NEXT) เพื่อสนับสนุนและสร้างผู้ประกอบการในธุรกิจดิจิทัล ในอันที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตด้วยนวัตกรรม, เพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือและเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรม สู่การเป็นชุมชนนวัตกร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ (Acknowledge – Based – Economy), เพื่อให้ความรู้ทั้งในรูปแบบห้องเรียน เวิร์คชอป และเทรนนิ่งด้านเทคนิคและธุรกิจ สู่การสร้างสังคมผู้เชี่ยวชาญในโลกดิจิทัล (Professional Society), ส่งเสริมวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในไทย ส่งเสริมสังคมความร่วมมือและเครือข่ายธุรกิจดิจิทัลให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

 

 “Creator Space (NEXT)” ได้ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของนวัตกร ผ่านรูปแบบ การเวิร์คชอป การอบรมออนไลน์ เสวนา และคลาสรูม เป็นต้น และมีฟังก์ชันการบริการใน 6 ด้าน ได้แก่


1.ด้านนวัตกรสัมพันธ์ (Human Resources) พื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา นักวิจัย และผู้ที่สนใจ
กับนวัตกรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนาสู่สตาร์ทอัพในภาคธุรกิจดิจิทัล


2.ด้านพื้นที่สร้างสรรค์และกิจกรรม (Maker Space and Offline Activities) พื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม การเวิร์คชอป การเทรนนิ่ง การแข่งขันสร้างสรรค์ไอเดีย หรือแฮกคาร์ธอน (Hackathon) เป็นต้น


3.ด้านชุมชนดิจิทัล (Online Community) พื้นที่ในการสร้างแบรนด์ และพัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านการสนับสนุนจากเครือข่ายในชุมชนดิจิทัล และการแข่งขันทางธุรกิจในโลกออนไลน์


4.ด้านความรู้และเทคนิคจากพาร์ทเนอร์ (Knowledge & Technical Partners) พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีการสร้างสรรค์ ระหว่างพาร์ทเนอร์และนวัตกร นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจดิจิทัล


5.ด้านความร่วมมือกับภาครัฐ (Government) การสนับสนุนเงินทุนในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อกระตุ้นการลงทุนในโครงการสตาร์ทอัพ ส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ


6.ด้านการสนับสนุนทางการเงิน (Financial Support) การสนับสนุนทางการเงิน และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับองค์กรภาคเอกชน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อยอดเศรษฐกิจ


     ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า สำหรับเทรนด์ข้อมูลธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลในอนาคตในปี 2563 ที่จะได้รับความนิยมสูงแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่


     กลุ่มฟินเทคและเทคโนโลยีบล็อกเชน (Fintech and Blockchain) นวัตกรรมทางการเงินที่จะมาปฏิวัติระบบการเงินทั่วโลก การจัดการความเสี่ยงทางการเงินและความปลอดภัยในโลกดิจิทัล การมีผู้ช่วยเสมือนจริงทางการเงิน และความมั่งคั่งของคนรุ่นใหม่


     กลุ่มนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ (Smart Healthcare) ระบบเทเลเมดีซีน (Telemedicine) และคลาวด์ จัดเก็บข้อมูลการรักษาทางการแพทย์ อินเทอร์เน็ตออฟติงทางการแพทย์ (the Internet of Medicine Things – IoMT) การใช้ระบบเอไอ (AI) ในกระบวนการรักษา เป็นต้น

 
     กลุ่มโรโบติกและเอไอ (Robotic and AI) การพัฒนาเทคโนโลยีสู่ระบบอัตโนมัติทางการพิมพ์ในภาษาต่างๆ เพื่อเช็คความถูกต้อง การพัฒนาการใช้ประโยชน์หุ่นยนต์ในบ้านและสำนักงาน เป็นต้น


     กลุ่มสมาร์ทซิตี้ (Smart City) การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตของคนเมือง การทำธุรกิจในโลกดิจิทัล ระบบขนส่งสาธารณะและการสื่อสารที่จะพัฒนาสู่ 5G ในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น

 

กลุ่มเป้าหมายของพื้นที่นักสร้างสรรค์ – Creator Space (NEXT) คือ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์, บุคลากรด้านงานนวัตกรรมและงานวิจัย, สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไป